นายสมชาย สุมนัสขจรกุล รองอธิบดีกรมเจ้าท่า เป็นประธานในพิธีแถลงข่าว "การยกระดับทำเรือเพื่อการท่องเที่ยววิถีใหม่ฝั่งอันดามัน" โดยมีนายวรรณชัย บุตรทองดี ผู้อำนวยการกองวิศวกรรม กรมเจ้าท่า นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และนางสาวปทิตตา ตันติเวชกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยวการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมเสวนาในกัวข้อ "การจัดการยกระดับท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยววิถีใหม่ฝั่งอันดามัน" ท่ามกลางผู้บริหาร แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนจำนวนมาก ณ ห้องบอลรูม A ชั้น G โรงแรมอนันตรา ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ รีสอร์ท เมื่อวันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563
กรมเจ้าท่าทำการปรับปรุงท่าเรือปากเมง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อศักยภาพทางด้านการรองรับนักท่องเที่ยว พร้อมเรียกความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยวเดินทาง สะดวก ปลอดภัย ต้อนรับการท่องเที่ยววิถีใหม่
กรมเจ้าท่า มีภารกิจหลักในการกำกับดูแลและพัฒนาการขนส่งทางน้ำของประเทศ ส่วนหนึ่งเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการขนส่งทางน้ำของประเทศ ได้แก่ การขุดลอกร่องน้ำ การสร้างท่าเรือ การสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง เป็นดัน ภารกิจดังกล่าวเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของรัฐบาลด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมีเป้าหมายมุ่งเน้นให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยสอดคล้องกับแผนแม่บทของชาติในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ โดยเฉลี่ยร้อยละ 20 ของ GDP นับเป็นรายได้หลายหมื่นล้านบาทต่อปี แต่ในปัจจุบันสืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้รูปแบบการท่องเที่ยวในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไป โดยจะเป็นการท่องเที่ยวแบบภายนอก หรือ Outdoor มากขึ้น สอดคล้องกับการใช้ชีวิตแบบ New Normal หรือ วิถีใหม่ การท่องเที่ยวทางน้ำนับเป็นอีกรูปแบบการท่องเที่ยวหนึ่งที่รองรับความต้องการนี้เช่นกัน หนึ่งในภารกิจของกรมเจ้าท่าคือการดูแลปรับปรุงท่าเทียบเรือให้มีความพร้อมที่จะรองรับนักท่องเที่ยวในอนาคต ทั้งในด้านความปลอดภัยและรูปแบบอันทันสมัย สะดวกสบาย ตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตในอนาคตได้มากยิ่งขึ้น อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวในประเทศที่จะนำมาซึ่งรายได้ของประเทศและกระจายสู่ชุมชนในพื้นที่ต่อไป
หนึ่งในทำเรือสำคัญ ของท้องทะเลอันตามัน อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของประเทศไทย คือ ทำเรือปากเมง หาดปากเมง หมู่ที่ 4 ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ก่อสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2536 ด้วยงบประมาณของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นท่าเทียบเรือท่องเที่ยวที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นประตูเชื่อมโยงสู่เกาะและชายหาดต่างๆ ในท้องทะเลอันดามัน ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เป็นต้นทางไปสู่สถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญต่างๆ เช่น เกาะไหง เกาะมุก เกาะกระดาน เกาะเชือก เกาะแหวน เกาะม้า เกาะรอกนอก-รอกใน เนื่องจากอยู่ใกล้ เดินทางง่าย ร่องน้ำสะดวก และยังมีเกาะกำบังคลื่นลมให้อีกด้วย ในแต่ละปีจึงมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการจำนวนมาก อย่างไรก็ตามเนื่องจากท่าเทียบเรือได้ถูกใช้งานมานานเกือบ 30 ปี จึงมีสภาพทรุดโทรม และแออัดเป็นอย่างมาก ขนาดท่าเรือไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้มาใช้บริการ โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดหรือเทศกาลต่างๆ มีทั้งเรือขนาดใหญ่ เรือหางยาว ขอและเรือสปีดโบ้ต เข้ามาใช้บริการถึงวันละไม่ต่ำกว่า 100 ลำ จนทำให้เกิดความไม่สะดวก และอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนได้ รวมทั้งสภาพทางภายภาพของท่าเรือไม่เอื้อต่อการใช้งานในปัจจุบัน สะพานท่าเรือแคบเกินไป ไม่มีอาคารพักคอยสำหรับผู้โดยสาร และที่สำคัญท่าเรือยังไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย เช่น ไม่มีหลักผูกเรือ และยางกันชนเรือ เป็นตัน
ด้วยความห่วงใยในความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตของประชาชน กรมเจ้าท่า ในฐานะที่มีภารกิจสำคัญในการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ จึงได้เร่งหาแนวทางแก้ปัญหา และนำมาสู่การดำเนินงานร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พัฒนาบรรณกิจ ในการก่อสร้างปรับปรุงท่าเรือปากเมง ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 630 วัน โดยท่าเทียบเรือปากเมงเมื่อปรับปรุงแล้วเสร็จ จะมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่สมบูรณ์ครบถ้วน โดยมีพื้นที่ท่าเรือที่พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกและปลอดภัย โครงสร้างมีความมั่นคง แข็งแรง พื้นที่ด้านหน้าท่าสามารถรองรับเรือเข้าเทียบท่าได้อย่างปลอดภัย พื้นที่ด้านหลังท่ามีพื้นที่การใช้สอยที่อำนวยความสะดวกสอดรับกับความต้องการของนักท่องเที่ยวอย่างครบครัน
เมื่อท่าเรือนี้เสร็จสมบูรณ์จะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดตรังมากยิ่งขึ้น และยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นท่าเรือที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวทะเลฝั่งอันดามันในอนาคต อาทิ เส้นทางปากเมง-เกาะหลีเป๊ะ ปากเมง-เกาะลันตา อันจะมาซึ่งรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล เพิ่มสัดส่วนรายได้ทางการท่องเที่ยว เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้มีศักยภาพที่เติบโต พร้อมขับเคลื่อนรองรับการท่องเที่ยวในอนาคต