Hot Widget

Header ADS
Type Here to Get Search Results !
Header ADS

ไม่มีชื่อ

เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
แถลงผลการดำเนินงาน
ศาลยุติธรรมทั่วประเทศ
และสำนักงานศาลยุติธรรม ปี 2561 
พร้อมประกาศตั้งเป้าเป็น 
D-court ในปี 2563


วันที่ 18 มกราคม 2562
เวลา 10.45 น.
นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม แถลงผลการดำเนินงานของศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรมในภาพรวม ประจำปี พ.ศ. 2561 ระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักงานศาลยุติธรรม อาคารศาลอาญา ชั้น 12 โดยเปิดเผยสถิติคดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้นทั่วประเทศ จำนวน 1,883,228 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 1,660,252 คดี คิดเป็นร้อยละ 88.16 ขณะที่มีคดีที่เข้าสู่การพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ จำนวน 60,191 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 54,049 คดี คิดเป็นร้อยละ 89.79 ส่วนในชั้นศาลฎีกา รับพิจารณาคดี จำนวน 23,119 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ จำนวน 16,883 คดี คิดเป็นร้อยละ 73.02  รวมทั้ง 3 ชั้นศาลแล้ว มีคดีศาลรับพิจารณาไว้ทั้งสิ้น 1,966,538 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 1,731,184 คดี คิดเป็นร้อยละ 88.03ทั้งนี้ สถิติคดีทั้งหมดที่เข้าสู่การพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นทั่วประเทศ แบ่งเป็นคดีแพ่ง จำนวน 1,245,716 คดี คิดเป็นร้อยละ 66.15  คดีอาญา จำนวน 637,512 คดี คิดเป็นร้อยละ 33.85โดยจำนวนข้อหาที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้นทั่วประเทศสูงสุด 5 อันดับ (เฉพาะคดีที่รับใหม่ในปี 2561) ได้แก่ 1) พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ 344,849 ข้อหา  2) สินเชื่อบุคคล 258,008 ข้อหา3). พ.ร.บ. จราจรทางบก  181,933 ข้อหา  4) บัตรเครดิต 169,897 ข้อหา  5) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 166,659 ข้อหาส่วนการดำเนินการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 150 เรื่อง คิดเป็นทุนทรัพย์ 105,414,884,005.69 บาท
สำหรับโครงการส่งเสริมการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของบุคคลมาใช้ในการปล่อยตัวชั่วคราว (Electronic Monitoring) หรือที่เรียกว่า อุปกรณ์ EM
ในปัจจุบันมีศาลที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 164 ศาล และมีการติดตั้งอุปกรณ์ไปแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น 6,521 ครั้ง โดยประเภทคดีหรือฐานความผิดที่มีการติดอุปกรณ์ EM มากที่สุด 6 อันดับ ได้แก่ 1) พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ร้อยละ 37  2) ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ร้อยละ 21  3) พ.ร.บ.จราจรทางบก ร้อยละ 16  4) ความผิดอื่นๆ เช่น ความผิดเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ, พ.ร.บ.เช็ค ร้อยละ 13  5) ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย ร้อยละ 8  6) พ.ร.บ.อาวุธปืน ร้อยละ 5  ในส่วนของการใช้อุปกรณ์ EM ในการคุมประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 มีการสั่งใช้อุปกรณ์ EM ทั้งสิ้นจำนวน 13 ครั้ง ใน 5 ศาลในด้านของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการคดี เพื่อให้การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมรวดเร็วขึ้น ง่ายขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายน้อยลงตามนโยบายประธานศาลฎีกา
ศาลยุติธรรมจึงได้พัฒนาระบบงานด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรมและให้บริการประชาชน อาทิ- ระบบยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสารโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) เพื่อให้คู่ความสามารถยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสารโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องเดินทางมาศาล โดยในปัจจุบันได้เปิดให้บริการ จำนวน 19 ศาล สถิติการใช้งานระบบ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2560 – 15 มกราคม 2562 พบว่า มีทนายลงทะเบียน Online จำนวน 1,070 คน ยื่นฟ้องผ่านระบบ จำนวน 1,178 คดี (ศาลแพ่งมีการยื่นฟ้องมากที่สุด 407 คดี) และมีการชำระเงินผ่านระบบ e-Payment เป็นยอดเงินรวม 11,723,719.71 บาท- ระบบส่งเอกสารและประกาศนัดไต่สวน โดยวิธีการลงโฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-notice) เปิดให้บริการข้อมูลการประกาศนัดไต่สวนผ่านทางเว็บไซต์แทนการประกาศทางหนังสือพิมพ์ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และสามารถลดเวลาและค่าใช้จ่ายของประชาชนลงได้ โดยสถิติการใช้งาน ระบบ e-notice ณ วันที่ 15 มกราคม 2562 พบว่า มีประกาศที่ลงในระบบ e-Notice จำนวน 9,928 ประกาศ ประหยัดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนได้ 4,964,000 บาท นอกจากนี้ การประกาศในระบบ e-Notice ยังเร็วกว่าประกาศหนังสือพิมพ์และลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 44,676 วัน- ระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม (Case Information Online Service : CIOS) ซึ่งเปิดให้บริการที่ศาลยุติธรรมทั่วประเทศ โดยมีจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบ ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2561 จนถึงวันที่ 15 มกราคม 2562 จำนวน 1,240 คน แบ่งเป็น ทนายความ จำนวน 1,107 คน คู่ความ จำนวน 133 คน และจำนวนคดีที่ทนาย/คู่ความร้องขอเพื่อติดตามข้อมูลคดี จำนวน 6,929 คดี- ระบบเชื่อมโยงข้อมูลหมายบังคับคดีกับกรมบังคับคดีผ่าน Web Service ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับหมายบังคับคดีกับกรมบังคับ จำนวน 3 ศาล ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งธนบุรี และศาลแพ่งกรุงเทพใต้ - การเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์กับกรมคุมประพฤติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสั่งสืบเสาะและพินิจจำเลย โดยมีหน่วยงานที่ดำเนินการแล้ว จำนวน 246 ศาลนอกจากนี้ ยังมีระบบการบันทึกการพิจารณาคดีโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Hearing Recording System) ระบบถอดแถบเสียงคำเบิกความพยานจากระบบบันทึกการพิจารณาคดี (Transcribing System) ระบบสืบพยานทางไกลผ่านจอภาพ (Teleconferencing System) ระบบการนำเสนอพยานหลักฐานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic resentation System) ระบบควบคุมห้องพิจารณาคดี (Electronic Control System) ระบบสืบพยานทางจอภาพเพื่อลดการเผชิญหน้า (Reduce Confrontation System) ระบบสืบค้นข้อมูลเขตอำนาจศาล ระบบบูรณาการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม และการปักหมุดตำแหน่งสถานที่ราชการ และการยกเลิกสำเนาบัตรประชาชนในการติดต่อราชการศาลยุติธรรมด้านการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม สำนักงานศาลยุติธรรมได้จัดทำกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นทางกฎหมายมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญ และการเสนอร่างกฎหมายที่สำคัญๆ หลายฉบับ อาทิ- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดหลักเกณฑ์การไต่สวนมูลฟ้อง หลักเกณฑ์ การยื่นอุทธรณ์ และค่าธรรมเนียม) ขณะนี้อยู่ระหว่างรอประกาศ- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราว และการใช้สิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีหรือการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีอาญา) ขณะนี้อยู่ระหว่างรอประกาศ- ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง พ.ศ. 2561 ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 87 ก วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561
- ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ว่าด้วยการพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 5 ก วันที่ 9 มกราคม 2562- ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ว่าด้วยการพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือก การดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกและการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสิทธิเลือกตั้งในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 99 ก วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561
ขณะที่ร่างพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. .... หรือ Court Marshal อยู่ระหว่างการประชุมกรรมาธิการเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวเพิ่มเติมถึงการจัดตั้งศาลใหม่เพื่อกระจายความยุติธรรมและเพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณาคดี โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีการจัดตั้งศาลใหม่ จำนวน
2 ศาล ได้แก่ ศาลแขวงภูเก็ต และศาลแขวงระยอง และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เตรียมจะเปิดทำการศาลใหม่ ได้แก่ ศาลแขวงบางบอน  ศาลแขวงเชียงราย นอกจากนี้ ศาลจังหวัดมีนบุรี ศาลจังหวัดพระโขนง และศาลจังหวัดตลิ่งชัน  สนช. ได้ผ่านกฎหมายยกฐานะของทั้ง 3 ศาล จากศาลจังหวัดเป็นศาลแพ่งมีนบุรี ศาลอาญามีนบุรี ศาลแพ่งพระโขนง ศาลอาญาพระโขนง ศาลแพ่งตลิ่งชัน และศาลอาญาตลิ่งชัน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคดีให้สอดคล้องกับปริมาณคดีในแต่ละประเภทที่มีเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ สำนักงานศาลยุติธรรมยังเล็งเห็นว่า เทคโนโลยี ข้อมูล การเรียนรู้ และทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล รวมทั้งกลยุทธ์ด้านดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงสำนักงานศาลยุติธรรมและหน่วยงานในสังกัดสู่ระบบดิจิทัลได้ภายในระยะเวลาที่รวดเร็วและมีความยั่งยืน จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) ของสำนักงานศาลยุติธรรม โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นประธานคณะกรรมการฯ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิบุคคลภายนอก เพื่อประโยชน์ในงานส่งเสริมงานตุลาการ งานวิชาการ งานสนับสนุนศาลยุติธรรม และเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายที่จะก้าวสู่การเป็น D-Court (ศาลดิจิทัล) ในปี 2563 หรือ 2020