Hot Widget

Header ADS
Type Here to Get Search Results !
Header ADS

ไม่มีชื่อ

ย่างก้าวการทำฝนในอาเซียน : อินโดนีเซียเชิญฝนหลวงฯ ศึกษาดูงานการทำฝน พร้อมแลกเปลี่ยนและพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกัน!!


กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
ในฐานะศูนย์กลางด้านการดัดแปรสภาพอากาศในภูมิภาคอาเซียน   เดินทางไปติดตามการนำเทคโนโลยีฝนหลวงไปใช้ในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการทำฝน ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 1 กันยายน 2561 เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทำฝนของไทย



วันที่ 1 กันยายน 2561 เวลา 09.00 น. นายสุรสีห์ กิตติมณฑล
อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า จากการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการดัดแปรสภาพอากาศ
ระดับภูมิภาคอาเซียน ประจำปี 2561
(ASEAN Workshop on Weather Modification 2018) ประกอบด้วย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เมียนมา สิงคโปร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO)






ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการดัดแปรสภาพอากาศในภูมิภาคอาเซียน และตกลงในการทำโครงการวิจัยร่วมกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการดัดแปรสภาพอากาศและเทคโนโลยีเกี่ยวกับการทำฝนด้วยนั้น สาธารณรัฐอินโดนีเซียซึ่งเป็น 1 ในสมาชิกภูมิภาคอาเซียน จึงได้เชิญกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในนามตัวแทนของประเทศไทยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีการทำฝนกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้รับเกียรติจาก Dr. Hammam Riza Deputy of Natural Resources and Development Technology, BPPT. อธิบดีกรมทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาเทคโนโลยี ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์  และ Dr. Tri Handoko Seto ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคนิคการดัดแปรสภาพอากาศ ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคนิคการดัดแปรสภาพอากาศ (National Laboratory for Weather Modification Technology : BPPT) กรุงจาการ์ตา โดยได้นำเสนอเทคโนโลยีการทำฝนของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้แก่ เทคโนโลยีการพ่นสารจากพื้นสู่อากาศ (Ground Based Generator) การทำฝนโดยใช้พลุสารดูดความชื้น (แคลเซียมคลอไรด์) และเทคนิคการโปรยสาร จากที่เคยได้มาศึกษาที่ประเทศไทย ซึ่งทางอินโดนีเซียได้นำไปปรับใช้ประโยชน์ในการเพิ่มปริมาณฝนเพื่อการชลประทานการสร้างไฟฟ้าพลังน้ำ การแก้ปัญหาไฟป่าหมอกควัน และการลดปริมาณฝนในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย   
โอกาสนี้ คณะเจ้าหน้าที่จากกรมฝนหลวงและการบินเกษตรและสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงจาการ์ตา ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาเทคโนโลยีการทำฝนการดัดแปรสภาพอากาศ และลงพื้นที่ศึกษาเทคโนโลยีเทคโนโลยีการพ่นสารจากพื้นสู่อากาศ Ground Based Generator และการทำฝนโดยใช้พลุสาร ดูดความชื้น ซึ่งกรมฝนหลวงและการบินเกษตรมีความเห็นว่า เทคโนโลยี Ground Based Generator สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ที่ค่อนข้างสูงและอับฝนของประเทศไทย โดยจะทำการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อนำไปทดลองใช้กับพื้นที่ลักษณะข้างต้น อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ทำให้ได้ทราบว่า การทำฝนของทางอินโดนีเซียเป็นการดำเนินงานโดยหน่วยงานที่ทำฝนโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการว่าจ้างจากหน่วยงานที่มีความต้องการฝนเพื่อใช้ประโยชน์  ในด้านต่าง ๆ และคิดอัตราการดำเนินงานด้วยงบประมาณ 400,000 – 500,000 บาทต่อวัน ทั้งนี้ ประเทศไทยและอินโดนีเซีย จะร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องความร่วมมือทั้งของสองประเทศภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของประเทศไทย และกระทรวงเกษตรของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันยังเป็นการปฏิบัติตามกรอบการประชุม ASEAN Workshop on Weather Modification ที่จะมีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีงานวิจัย มีโครงการวิจัยร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการแลกเปลี่ยนการพัฒนาบุคลากรเฉพาะทางให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
นายสุรสีห์ กล่าวทิ้งท้าย